เข้าสู่ระบบ!! บทความ
ภาษาไทย | English


สถิติของเวบไซต์
เปิดเวบเมื่อ 19/10/2549
ปรับปรุงเวบเมื่อ 15/11/2565
ผู้ชมทั้งหมด
สินค้าทั้งหมด 5249


หมวดหมู่สินค้า/บริการ
ดัชนีราคา
รวมทุกหมวดหมู่ (5249)
 ปั๊มน้ำ-มอเตอร์
 คอนเดนเซอร์
 แมคคานิคอลซีล
 เพรสเชอร์สวิทซ์
 หน้าทองขาว-กาวานา
 แมกเนติกส์-ตู้คอนโทรล
 สายไฟ
 ข้อต่อแป๊บ
 ใบพัด
 ทุ่น-รวมอะไหล่เครื่องมือไฟฟ้า
 สินค้าทั่วไป
 อะไหล่ปั๊มอัตโนมัติ
 อะไหล่เครื่องพ่นยา-ตัดหญ้า-เครื่องยนต์
 ซีล (MECHANICAL SEALS)
 ปั๊มน้ำ-เครื่องมือไฟฟ้า
 อะไหล่เครื่องมือเกษตร-ตัดหญ้า--พ่นยา-ตู้เชื่อม
 ทุ่น-อะไหล่เครื่องมือไฟฟ้า



จดหมายข่าว
กรุณาใส่อีเมล์ของท่าน เพื่อรับข่าวสารที่น่าสนใจ



แบบสอบถามออนไลน์
ท่านสนใจสินค้าหมวดใดมากที่สุด
ปั๊มน้ำ-เครื่องมือไฟ
คอนเดนเซอร์ คาปาซิเต
ซีล (MECHANICAL SEAL
เพรสเซอร์สวิทซ์
ทองขาว-กาวานา
ตู้คอนโทรล-แมกเนติกส
สายไฟ
ทุ่น-อะไหล่
อะไหล่ปั๊มถังอัตโนมั
อะไหล่เครื่องมือเกษต


เช็คสถานะการสั่งซื้อ


Pay online by TaradPay
Pay online by TaradPay
Bank Transfer and Bill Payment
Counter Service
PayPal.com
PaysBuy.com
Mpay.com
Mpay.com

บทความ
ปั๊มน้ำมีกี่ประเภท (อ่าน 8128/ตอบ 9)

เครื่องปั๊มน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจาก แหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จาก ตำแหน่งหนึ่งไป ยังอีก ตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่า หรือในระยะทางที่ไกลออกไป โดยจุดเริ่มต้นของเครื่องปั๊มน้ำนี้มีประวัติศาสตร์ที่ ยาวนานกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งในช่วงเริ่มแรกมีการใช้พลังงาน ที่ได้จากมนุษย์ สัตว์ ต่อมาจึงได้ใช้พลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานจากลม และน้ำเป็นแหล่งต้นกำเนิด ซึ่งในช่วงแรกเพียง เพื่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรเท่านั้น

ในปัจจุบันเครื่องปั๊มน้ำจัดเป็นอุปกรณ์เครื่องมืออีก ชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก เป็นอุปกรณ์ ที่ช่วยจัดส่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร คมนาคม อุตสาหกรรม ตลอดจนการบำบัดน้ำเสีย เพื่อรักษา สภาวะแวดล้อม ที่ดีให้กับมนุษย์ ซึ่งวิวัฒนาการของเครื่องปั๊มน้ำใน ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากเดิม ที่ใช้พลังงานจาก แหล่งธรรมชาติมาเป็น การใช้พลังงานจากไอน้ำ จากเครื่องยนต์ และที่นิยมกันมากคือ การใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน

ประเภทของปั๊มน้ำ (Type of Pump)

ปัจจุบันมีการจัดแบ่งประเภทของปั๊มน้ำหลายรูปแบบ และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปมากมาย ดังนั้นจึงมี การจัดหมวดหมู่ออกได้เป็น 2 แบบคือ

  1. แยกตามลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลว หรือการไหลของของเหลวในปั๊ม ได้แก่
    ก. ประเภทปั๊มแรงเหวี่ยง หรือปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal) เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยแรงเหวี่ยง หนีจุดศูนย์กลาง ปั๊มแบบนี้บางครั้งเรียกว่าแบบ Rota – dynamic
    ข. ประเภทโรตารี่ (Rotary) เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง

    ค. ประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating)เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการอัดโดยตรงในกระบอกสูบ
    ง. ประเภทพิเศษ (Special) เป็นปั๊มที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถจัดอยู่ในทั้งสามประเภทที่กล่าวมา
  2. แยกตามลักษณะการขับดันของเหลวในปั๊ม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
    ก. ประเภททำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Dynamic) เป็นปั๊มประเภทอาศัยแรง
    เหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางและแบบพิเศษ
    ข. ประเภททำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Positive Displacement) คือการเคลื่อนที่ โดยอาศัยชิ้นส่วนของ เครื่องสูบ ปั๊มประเภทนี้จะรวมเอาแบบโรตารี่และแบบลูกสูบชักเข้าอยู่ในกลุ่มด้วย

นอกจากการแบ่งเป็นสองแบบตามที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจแบ่งปั๊มตามวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละชนิดด้วยเช่น ปั๊มดับเพลิง ปั๊มลม ปั๊มสูญญากาศ ปั๊มบาดาล เป็นต้น

คุณสมบัติของปั๊มแต่ละชนิด

  1. ลักษณะการทำงานของปั๊มแบบแรงเหวี่ยง
    ปั๊มแบบแรงเหวี่ยงเป็นปั๊มที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อเทียบกับปั๊มแบบอื่น ๆ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง เหมาะสมกับการใช้งานหลายประเภทประกอบกับการดูแลรักษาง่าย ส่วนประกอบของเครื่อง มีใบพัดอยู่ในเสื้อ เครื่องรูปหอยโข่ง (Volute Casing) ให้พลังงานแก่ของเหลวโดยการหมุนของใบพัด ทำให้สามารถยกน้ำจาก ระดับต่ำขึ้นไปสู่ระดับสูงได้

    หลักการทำงานของเครื่อง พลังงานจะเข้าสู่ปั๊มโดยผ่านเพลาซึ่งมีใบพัดติดอยู่ เมื่อใบพัดหมุนของเหลวภายในปั๊ม จะไหลจาก ส่วนกลางของใบพัดไปสู่ส่วนปลายของใบพัด (Vane) จากการกระทำของแรงเหวี่ยง จากแผ่นใบพัดนี้ จะทำให้ เฮดความดัน (Pressure Head) ของเหลวเพิ่มขึ้น เมื่อของเหลวได้รับความเร่ง จากแผ่นใบพัด ก็จะทำให้มีเฮดความเร็วสูงขึ้น ส่งผลให้ของเหลวไหลจากปลายของใบพัดเข้าสู่เสื้อปั๊มรูปหอยโข่ง แล้วออกไปสู่ทางออกของปั๊ม ในขณะเดียวกัน ก็เปลี่ยนเฮดความเร็วเป็นเฮดความดัน ดังนั้นเฮดที่ให้แก่ของเหลวต่อหนึ่ง หน่วยความหนักเรียกว่า เฮดรวมของปั๊ม
  2. ลักษณะการทำงานของปั๊มแบบลูกสูบชัก
    ปั๊มประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating pump) เป็นประเภทที่เพิ่มพลังงาน ให้แก่ของเหลว โดยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ เข้าไปอัดของเหลวให้ไหล ไปสู่ทางด้านจ่าย ปริมาตรของของเหลวที่สูบได้ ในแต่ละครั้งจะเท่ากับ ผลคูณของพื้นที่หน้าตัด ของกระบอกสูบกับช่วงชักของกระบอกสูบนั้น

    ***เครดิต จาก http://www.novabizz.com

ความคิดเห็นที่ 0
email
(06/12/2550 15:03:09) IP. 58.9.95.xxx
ความคิดเห็นที่ 1
email
(06/12/2550 15:13:31) IP. 58.9.95.xxx
ความคิดเห็นที่ 2
email
(06/12/2550 15:04:54) IP. 58.9.95.xxx
ความคิดเห็นที่ 3
ทำให้ได้รับความรู้เรื่องใบโอดีเซลเนื่องจากกระผมใช้รถดีเซลเป็นบุลคลากรที่มีคุณค่าควรได้รับการยกย่องเพราะปัจจุบันราคานำมันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติ การพัฒนาและวิจัยเป็นการเสียสละเพื่อสังคมจริงๆ
suwan email
(07/12/2550 10:14:03) IP. 10.105.128.xxxxx
ความคิดเห็นที่ 4
ทำให้ได้รับความรู้เรื่องใบโอดีเซลเนื่องจากกระผมใช้รถดีเซลเป็นบุลคลากรที่มีคุณค่าควรได้รับการยกย่องเพราะปัจจุบันราคานำมันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติ การพัฒนาและวิจัยเป็นการเสียสละเพื่อสังคมจริงๆ
suwan email
(07/12/2550 10:14:25) IP. 10.105.128.xxxxx
ความคิดเห็นที่ 5
Not bad at all fellas and gaslal. Thanks.
Ivoneide email
(01/09/2556 16:51:25) IP. 134.214.83.xxx
ความคิดเห็นที่ 6
http://envcaoryrx.com">Arlcties like this make life so much simpler.
Rosemberg email
(02/09/2556 09:29:51) IP. 108.168.159.xxxxxxx
ความคิดเห็นที่ 7
That's a sharp way of thnkiing about it. http://owkrgzoc.com [url=http://ghufbyzh.com]ghufbyzh[/url] [link=http://yvblsws.com]yvblsws[/link]
Seiya email
(03/09/2556 12:30:11) IP. 186.213.101.xxxxxxxx
ความคิดเห็นที่ 8
Haujllleah! I needed this-you're my savior. http://gcuxmfzg.com [url=http://iemejvnorv.com]iemejvnorv[/url] [link=http://zyaphvrnfry.com]zyaphvrnfry[/link]
Ipay email
(08/09/2556 20:30:12) IP. unknown, 96.53.97.xxxxxxx
Total: 9:               
 
    
เสนอความคิดเห็น
รายละเอียด : *
Fun & Emotion Icon Click here for more.
ชื่อ : *
อีเมล์ :
* กรุณากรอกตัวเลขและตัวอักษรให้ถูกต้อง
 

สินค้า/บริการ แนะนํา...
ทุ่นสว่านโรตารี่ DH 24 PC3
ราคา 0.00 บ.
 



© 2001-2010. TARAD.com. All Rights Reserved.